วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral Theories)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral Theories)

 แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
      1. Respondent Behavioral หรือการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)
 
  
      โดยแนวคิดของ พาฟลอพ (Pavlov) ที่ใช้การวางสร้างความสัมพันธ์ โดยมีสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ที่ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อหาอธิบายหลักการเรียนรู้ที่เกิดจากพฤติกรรมนิยม โดยสิ่งเร้า Stimuls และ การตอบสนอง Respone  จะต้องเป็นไปในลักษณะที่ สิ่งเร้าเป็นตัวส่งผลต่อการตอบสนอง เมื่อมีการตอบสนองเกิดขึ้น นั่นย่อมแสดงให้เห็นได้ว่า พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง และเกิดการเรียนรู้

      ส่วนแนวคิดของ "วัตสัน" (Watson) จะเน้นในเรื่องของความรู้สึก ความกลัว ซึ่งวิธีการมีลักษณะเหมือนกับแนวคิดของ พาฟลอพ คือ มีสิ่งเร้า และการตอบสนองเพื่อ ให้บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและเกิดการเรียนรู้


 2. Operant Behavior  คือทฤษฎีการวางเงือนไขแบบกระทำ (Operant Conditioning Theory) มีนักจิตวิทยา 2 ท่าน ได้แก่ ธอร์นไดค์ (Thorndike) และ สกินเนอร์ (Skinner) โดยแนวคิดของทฤษฎีนี้ ผู้เรียนจะต้องลงมือกระทำเอง โดยมิใช่เป็นการแสดงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นและเกิดการตอบสนองต่อสิ่งนั้น


        ในทฤษฎีของธอร์นไดค์ เป็นการลองผิดลองถูก (Trial and Error) ต่อสิ่งเร้า และตอบสนองต่อสิ่งเร้า เพียงแค่นั้นยังไม่พอ จะต้องมีการเสริมแรงในด้านการให้รางวัลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  กล่าวคือ เมื่อเกิดการตอบสนองต่อสิ่งเร้าแล้ว หากว่าการตอบสนองนั้นเป็นผลลัพธ์ที่ดีและพึงพอใจ (ได้รับการเสริมแรง) ย่อมทำให้บุคคลเกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น (อยากกระทำเช่นนั้นต่อไป)  และธอร์นไดค์ยังได้สรุปผลเป็นกฏแห่งการเรียนรู้  ดังนี้ 1. Law of effect 2. Law of readiness 3. Law of Exercise และ 4. Law of use and disuse


    ส่วนทฤษฎีของสกินเนอร์นั้น มีลักษณะที่คล้ายกับธอร์นไดค์ แต่แนวคิดของสกินเนอร์จะเน้นที่ตัวเสริมแรง (Reinforcement) มากกว่าสิ่งอื่นใด โดยสกินเนอร์จะให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำ โดยมีรางวัลทั้งด้านบวก เป็นแรงเสริมห้ผู้เรียนรักษาพฤติกรรมอันพึงประสงค์ให้คงทนถาวร หรือ ให้รางวัลในด้านลบเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้ลดน้อยลงจนเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยสกินเนอร์ได้ทำการวิจัยการให้รางวัลอย่างละเอียดจนสกินเนอร์มีเชื่อมั่นว่า "การเสริมแรงเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรมหรือ การเรียนรู็ของนักเรียน ดังนั้น ครูที่ดีจะต้องสามารถจัดสภาพการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้รับแรงเสริมเมื่อการเรียนรู้ได้เกิดขึ้น พฤติกรรมใดที่ได้รับแรงเสริมพฤติกรรมนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งที่นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวร พฤติกรรมใดที่ไม่ได้รับแรงเสริม แม้ว่าจะเน้นสิ่งที่ครูต้องการให้เกิดก็จะไม่อยู่นานคงทน"




1 ความคิดเห็น: