วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญา (Cognitive Theories)

          วิเคราะห์พฤติกรรมกลุ่มพุทธิปัญญา จากภาพยนตร์ เรื่อง "Inside out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง"


   * เรื่องย่อ

              เรื่องราวของ ริลีย์ เด็กหญิงวัย 11 ปี ที่เติบโตขึ้นมาในชีวิตแบบตะวันตกตอนกลาง และจำต้องย้ายบ้านตามพ่อแม่มายังเมืองซาน ฟรานซิสโก หลังจากพ่อของต้องมาเริ่มงานที่ใหม่ ณ เมืองที่ริลีย์ไม่คุ้นเคย  ชีวิตของริลีย์ต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เธอต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่แตกต่างออกไปจากเดิม และต้องเผชิญกับอารมณ์มากมายที่เข้ามาหลังจากการเปลี่ยนแปลงชีวิตครั้งนี้ของเธอ จนนำมาสู่การแสดงออกทางอารมณ์ต่างๆ ทั้ง 5 ได้แก่ ความสุข (Joy), ความกลัว(Fear), ความโกรธ (Anger ), ความน่ารังเกียจ (Disgust) และความเศร้า (Sadness) 

                 เมื่ออารมณ์ทั้งหมด ล้วนอาศัยอยู่ในศูนย์บัญชาการใหญ­่ ภายใต้การควมคุมของจิตใจไรลีย์ คำแนะนำของพวกเขาจะช่วยเหลือเธอให้ผ่านชีวิต­ในแต่ละวันได้ไปได้อย่างไร? เมื่อบทสรุปของความขัดแย้งทางอารมณ์เป็นเหมือนเข็มทิศชี้นำแนวทางให้ริลีย์ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้ได้ (http://www.metalbridges.com/inside-out-2015/)

     ** ตัวละคร

                   จอย เป็นอารมณ์ความสุขมองโลกในแง่ดี สนุกสนานในทุกๆสถานการณ์ อารมณ์ความสุขเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขน้อยที่สุดเป็นเพียงแค่การสะดุดเล็กๆก่อนที่จะได้พบกับสิ่งดีๆ เป็นอารมณ์ที่นานจะมาสักครั้ง คาแรกเตอร์เด่นของ Joy จอย เป็นตัวละครสาวน้อยตัวสีเหลืองสดใสผู้มาพร้อมกับผมสีฟ้าและร่าเริงตลอดเวลา
                   แองเกอร์  เป็นอารมณ์ความโกรธ ชอบความเท่าเทียมและยุติธรรม มักตอบสนองเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างรวดเร็วถ้าไม่พอใจละก่อหัวจะลุกเป็นไฟ คาแรกเตอร์เด่นของ Anger แองเกอร์  เป็นตัวละครผู้ชายอ้วนสีแดงทั้งตัวเวลาโกรธจัดหัวจะลุกเป็นไฟ มีความอดทนต่ำกับความไม่สมบูรณ์แบบของชีวิตมาก

                    เฟียร์  เป็นอารมณ์ความกลัว ทำหน้าที่รับผิดชอบความปลอดภัย  เขาจะคอยระแวดระวังหายนะต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้เสมอ และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการคำนวณเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้น คาแรกเตอร์เด่นของ Fear เฟียร์  เป็นตัวละครผู้ชายร่างผอมสีม่วง ผู้คอยระแวดระวังภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น

                   แซดเนส เป็นอารมณ์ความเศร้า ทำหน้าที่รับผิดชอบความเศร้าและความสุข เป็นตัวละครที่สามารถความคุมอารมณ์ทั้งสองอย่างได้เลย ถ้า Sadness แซดเนส มองในแง่ดีก็จะทำให้ Joy จอย มีความสุข ถ้ามองในแง่ร้ายก็จะทำให้ Sadness แซดเนส ออกมา คาแรกเตอร์เด่นของ Sadness แซดเนส เป็นตัวละคร สาวร่างท้วม ชอบคอตกสีฟ้าและพูดยานคาง เศร้าซึม ก็คิดว่าสิ่งที่ดีที่สุดที่ควรทำคือการนอนกองอยู่กับพื้นแล้วร้องไห้

                   ดิสกัส เป็นอารมณ์ความรังเกียจ ทำหน้าที่ป้องกันสิ่งแปลกปลอมสารพิษที่เป็นอันตรายทั้งต่อร่างกายและทั้งด้านร่างกายและสังคม คาแรกเตอร์เด่นของ Disgust ดิสกัส เป็นตัวละครสาวเต็มตัวสีเขียวผมสีเขียวสดใส่ผู้มาพร้อมกับความดื้อสุดขีดตรงสุดๆ คอยจับตาดูผู้คน สถานที่ และสิ่งของต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิต (http://www.hotmoviehd.com/inside-out-5.html)

*** วิเคราะห์พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มพุทธิปัญญา

        1. ทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญาของเพียเจต์
            ขั้นที่ 1. Sensorimotor State โดยเด็กทารกในวัยนี้จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยประสาทสัมผัส เคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย สังเกตเห็นได้จากที่ ริลีย์ วิ่งลากรถของเล่น , ชอบเล่นฮอกกี้น้ำแข็งและทำประตูได้, ชอบสนามเด็กเล่น
            ขั้นที่ 2. Preoperationl State ริลีย์มีพัฒนาการทางด้านภาษาเพิ่มมากขึ้น เพิ่มเป็นประโยคและมีคำศัพท์มากขึ้น มีจินตนาการมากขึ้น รู้จักคิดแก้ปัญหาสังเกตได้ในตอนที่พ่อแม่ทะเลาะกันและริลีย์ก็คิดขึ้นแก้ปัญหาโดยการใช้กระดาษขยำเป็นลูกบอลฮอกกี้เพื่อหันเหความสนใจจากพ่อและแม่ได้
            ขั้นที่ 3. Concrete Operations State  เด็กในวัยนี้เริ่มมีความคิดของตนเอง เห็นได้จากที่ริลีย์มีความสามารถในการใช้เหตุผลมากขึ้น โดยเริ่มจากที่ครอบครัวของเธอย้ายไปที่เมืองอื่น ซึ่งทำให้เธอประสบพบเจอกับเรื่องเลวร้ายและไม่เป็นที่น่าพอใจ จึงเป็นเหตุผลที่ทำเธอคิดที่จะหนีกลับไปที่บ้านเดิม
            ขั้นที่ 4. Formal Operations State สังเกตได้จากตอนที่ริลีย์อายุได้ 12 ปีนั้น จะเริ่มมีพัฒนาการมากขึ้น โดยภายในศูนย์ควบคุมของสมองนั้นจะมีการพัฒนาหน่วยการควบคุมใหม่ที่มี ฟังก์ชั่นเพิ่มมากขึ้น เช่น ปุ่มแตกสาว และแผงควบคุมของแต่ละคนที่อยู่ภายในสมองนั้นก็มีขนาดใหญ่ กว้างขึ้นพร้อมที่จะพัฒนาต่อไป

        2. ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางปัญญาของบรูเนอร์ 
             1. Enactive Representation เป็นการเรียนรู้ที่แสดงออกด้วยการกระทำ ลงมือปฏิบัติและจะเป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สังเกตได้จากตอนที่ริลีย์ยังเป็นเด็กนั้น ริลีย์มีทักษะการเล่นกีฬาฮอกกี้, ชอบวิ่งเล่น, ชอบเล่นสวนสนุก, อาบน้ำโดยมีเครื่องเล่นต่างๆ เป็นการเรียนรู้โดยการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น
             2. Iconic Representation มีพัฒนาการในด้านการใช้ภาพในใจแทนวัสดุสิ่งของ มีจินตนาการ หรือมโนภาพ (Imagery) สังเกตได้จากที่ริลีย์ มีจินตนการที่อยากไปดวงจันทร์โดยรถของเล่น
             3. Sysmbolic Representation เป็นขั้นสูงสุดในพัฒนาการทางพุทธิปัญญาตามความคิดของบรูเนอร์ โดยมีพัฒนาการทางด้านภาษา ความรู้ การคิดอย่างมีเหตุผล การแก้ปัญหา สังเกตได้จากตอนที่ริลีย์ ใช้เหตุผลในการตัดสินใจที่จะหนีออกจากบ้านเพื่อกลับไปบ้านเดิม เพราะเหตุว่าประสบกับเรื่องเลวร้ายที่บ้านใหม่ นั่นถือว่ามีการคิดและการตัดสินใจ ส่วนการแก้ปัญหาเห็นได้จากตอนที่พ่อแม่และแม่ของเธอทะเลาะกัน และเธอก็แก้ปัญหาโดยการใช้กระดาษทำเป็นลูกฮอกกี้เพื่อหันเหความสนใจของพ่อแม่มาที่ตัวเธอ และเธอก็มีพัฒนาการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สังเกตจากตอนท้ายของภาพยนตร์ที่มีแผงควบคุมในสมองของเธอเพิ่มมากขึ้น นั่นแสดงว่าเธอมีพัฒนาการที่พร้อมเต็มที่แล้วนั่นเอง

       3. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบล (Ausubel)
           สังเกตได้จากที่เดิมทีนั้น ริลีย์มีความรู้ ความเข้าใจ อารมณ์ ความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับชีวิตในวัยเด็กจากที่อยู่เดิม พอหลังจากที่ย้ายบ้านเข้าไปในเมือง และริลีย์ประสบพบเจอกับเรื่องเลวร้ายทำให้เธอได้รับประสบการณ์ใหม่ นั่นทำให้เธอเริ่มมีความคิดพิจารณาหาเหตุผลแล้วว่า ประสบการณ์ใหม่เป็นประสบการณ์ที่เลวร้ายไม่น่าพบเจอ เธออยากกลับไปที่บ้านเก่าเพื่อที่จะได้เจอกับสภาวะสิ่งแวดล้อมเก่าๆ ที่ทำให้เธอเคยมีความสุข นั้นหมายความ ประสบการณ์เดิมของเธอ มีความหมายต่อชีวิตของเธอมากกว่าประสบการณ์ใหม่ที่เลวร้ายและผ่านการพิจารณาด้วยระดับเชาว์ของเด็กในวัยนนี้แล้วว่า  ต้องการที่จะกลับไปที่บ้านเดิม เพื่อรับประสบการณ์ที่ดีเช่นเดิม

       4. แนวคิดกลุ่มทฤษฎีประมวลผลสารสนเทศ (Information Processing)
           1. การบันทึกผัสสะ (Sensory Register) สิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อมได้เข้ามากระทบกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษญ์ ไม่ว่าจะเป็น หู ตา จมูก ลิ้น กาย ซึ่งเป็นความจำระบบแรกของการประมวลสารสนเทศก่อนที่มนุษย์จะเลือกและพิจารณารับรู้และเก็บไว้ในความทรงจำต่อไป
               1.1 การรู้จัก (Recognition) ริลีย์มีความรู้จักกีฬาฮอกกี้ รู้จักพ่อแม่ รู้จักของเล่น รู้จักสนามเด็กเล่น รู้จักอาหาร รู้จักที่อยู่ศัย อันเป็นการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกตามกระบวนของการพัฒนา
               1.2 การใส่ใจ (Attention) ริลีย์ให้ความสนใจกับกีฬาฮอกกี้เป็นพิเศษที่ชอบเล่น และทำให้เธอมีทักษะการเล่นในระดับที่ดี
           2. ความจำระยะสั้น (Short - Term Memory) เป็นแหล่งที่สองของการบันทึกความจำ หลังจากประสบการณ์ต่างๆ จากการบันทึกผัสสะ เป็นแหล่งแรกของการบันทึกความจำ สังเกตได้จากที่ในแต่ละวันนั้น ริลีย์มีความทรงจำระยะสั้นมากมาย ที่เกิดจากอารมณ์ต่างๆ เป็นผู้กระทำและกำหนด จากนั้นความทรงจำก็จะถูกบันทึกอยู่ในรูปแบบลูกแก้วในแต่ละสีของอารมณ์ต่างๆ จะถูกนำมาเก็บไว้ในหน่วยควบคุมหรือศูนย์ควบคุมภายในสมองนั่นเอง
           3. ความจำระยะยาว (Long-Term Memory) ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในระยะสั้นนั้นจะถูกนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว สังเกตได้จากที่ภายในศูนย์ควบคุมภายในสมองนั้น ริลีย์จะมีหน่วยความจำระยะยาวแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ บ้านและครอบครัว, อารมณ์ติ๊งต๊อง, มิตรภาพ, ความจริงใจ ในแต่ะละวันนั้น จะมีลูกบอลสีต่างๆ ตามอารมณ์ความรู้สึก และบ้านฮอกกี้

      4. หลักการสำคัญของทฤษฎีพุทธิปัญญา (Key Concept of Cognitive Theory) และการนำไปใช้
          1. ขั้นที่ 1 Sensory Register บันทึกผัสสะ สังเกตได้จากที่เธอสัมผัสของเล่น, เล่นกีฬาฮอกกี้, ทานอาหาร, การเห็นร้านพิซซ่า ล้วนเป็นการสัมผัสในเบื้องต้นทั้งสิ้น
          2. ขั้นที่ 2 ในความจำระยะสั้น (Short- Term Memory: STM) ถูกบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น จากนั้นอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่ได้ประสบพบเจอในแต่ละวัน และสามารถเรียกใช้ได้สังเกตที่นึกถึงร้านพิซซ่าที่พึ่งผ่านมาและกลับไปรับประทานได้ อีกทั้งยังสามารถเรียกใช้ความทรงจำระยะสั้นในตอนที่นึกถึงตอนที่ถ่ายรูปกับไดโนเสาร์ และอื่นๆ อีก เป็นต้น
          3. ขั้นที่ 3 ความจำระยะยาวและการเก็บรักษา (Long-Term Memory : LTM) สามารถสังเกตได้จากตอนที่ริลีย์เรียกใช้ความทรงจำระยะยาวในเกาะติ๊งต๊อง ในการตัดสินใจว่าจะสไลค์ลงมาจากบันไดหรือไม่ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral Theories)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral Theories)

 แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
      1. Respondent Behavioral หรือการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)
 
  
      โดยแนวคิดของ พาฟลอพ (Pavlov) ที่ใช้การวางสร้างความสัมพันธ์ โดยมีสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ที่ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อหาอธิบายหลักการเรียนรู้ที่เกิดจากพฤติกรรมนิยม โดยสิ่งเร้า Stimuls และ การตอบสนอง Respone  จะต้องเป็นไปในลักษณะที่ สิ่งเร้าเป็นตัวส่งผลต่อการตอบสนอง เมื่อมีการตอบสนองเกิดขึ้น นั่นย่อมแสดงให้เห็นได้ว่า พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง และเกิดการเรียนรู้

      ส่วนแนวคิดของ "วัตสัน" (Watson) จะเน้นในเรื่องของความรู้สึก ความกลัว ซึ่งวิธีการมีลักษณะเหมือนกับแนวคิดของ พาฟลอพ คือ มีสิ่งเร้า และการตอบสนองเพื่อ ให้บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและเกิดการเรียนรู้


 2. Operant Behavior  คือทฤษฎีการวางเงือนไขแบบกระทำ (Operant Conditioning Theory) มีนักจิตวิทยา 2 ท่าน ได้แก่ ธอร์นไดค์ (Thorndike) และ สกินเนอร์ (Skinner) โดยแนวคิดของทฤษฎีนี้ ผู้เรียนจะต้องลงมือกระทำเอง โดยมิใช่เป็นการแสดงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นและเกิดการตอบสนองต่อสิ่งนั้น


        ในทฤษฎีของธอร์นไดค์ เป็นการลองผิดลองถูก (Trial and Error) ต่อสิ่งเร้า และตอบสนองต่อสิ่งเร้า เพียงแค่นั้นยังไม่พอ จะต้องมีการเสริมแรงในด้านการให้รางวัลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  กล่าวคือ เมื่อเกิดการตอบสนองต่อสิ่งเร้าแล้ว หากว่าการตอบสนองนั้นเป็นผลลัพธ์ที่ดีและพึงพอใจ (ได้รับการเสริมแรง) ย่อมทำให้บุคคลเกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น (อยากกระทำเช่นนั้นต่อไป)  และธอร์นไดค์ยังได้สรุปผลเป็นกฏแห่งการเรียนรู้  ดังนี้ 1. Law of effect 2. Law of readiness 3. Law of Exercise และ 4. Law of use and disuse


    ส่วนทฤษฎีของสกินเนอร์นั้น มีลักษณะที่คล้ายกับธอร์นไดค์ แต่แนวคิดของสกินเนอร์จะเน้นที่ตัวเสริมแรง (Reinforcement) มากกว่าสิ่งอื่นใด โดยสกินเนอร์จะให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำ โดยมีรางวัลทั้งด้านบวก เป็นแรงเสริมห้ผู้เรียนรักษาพฤติกรรมอันพึงประสงค์ให้คงทนถาวร หรือ ให้รางวัลในด้านลบเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้ลดน้อยลงจนเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยสกินเนอร์ได้ทำการวิจัยการให้รางวัลอย่างละเอียดจนสกินเนอร์มีเชื่อมั่นว่า "การเสริมแรงเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรมหรือ การเรียนรู็ของนักเรียน ดังนั้น ครูที่ดีจะต้องสามารถจัดสภาพการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้รับแรงเสริมเมื่อการเรียนรู้ได้เกิดขึ้น พฤติกรรมใดที่ได้รับแรงเสริมพฤติกรรมนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งที่นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวร พฤติกรรมใดที่ไม่ได้รับแรงเสริม แม้ว่าจะเน้นสิ่งที่ครูต้องการให้เกิดก็จะไม่อยู่นานคงทน"