วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

Bloom ได้แบ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัยออกเป็น 6 ขั้น ดังต่อไปนี้




1. ความรู้ความจำ (Knowledge) เป็นความสามารถในเก็บรักษา ประมวลผลข้อมูลต่างๆ การระลึกเนื้อหาเรื่องราว การจดจำเนื้อหา ที่เคยเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน หรือประสบการณ์ที่เคยได้รับ แบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
          1.1 ความรู้ในเนื้อเรื่อง (Knowledge of specifics) เป็นความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง เรื่องราว 
                1.1 ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และนิยาม (Knowledge of terminology)
                1.2 ความรู้เกี่ยวกับกฏและความจริง  คำจำกัดความ รูปภาพ จำนวน สถานที่ ฯลฯ
          1.2 ความรู้ในวิธีดำเนินการ (Knowledge of ways and means of dealing with specifics) คือวิธีการดำเนินการในกิจการงาน และเรื่องประกาวด้วย 5 วิธีด้วยกัน ดังนี้
                1.2.1 ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผนประเพณี  (Knowledge of conventions) ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมต่างๆ
                1.2.2 ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม (Knowledge of trends and sequences)
                1.2.3 ความรู้เกี่ยวกับการจัดประเภท (Knowledge of classifications and categories) สามารถระบุหมวดหมู่
                1.2.4 ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ (Knowledge of criteria) สามารถเปรียบเทียบว่าสิ่งใดดีเลวต่างกัน
                1.2.5 ความรู้ในวิธีดำเนินการ  (Knowledge of methodology) วัดวิธีการปฏิบัติงานด้านต่างๆ
         1.3 ความรู้รวบยอดในเนื้อเรื่อง (Knowledge of universals and abstractions in the field) 
                1.3.1 ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาและการขยายหลักวิชา (Knowledge of universals and abstractions in the field) เป็นความคิดรวบยอดของหลักวิชา หรือแกนหลักวิชา
                1.3.2 ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง (Knowledge of theories and structures) สามารถค้นหาทฤษฎีและโครงสร้าง

ตัวอย่าง
    ความรู้ความจำ : Central Processing Unit (CPU) ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ชนิดใดต่อไปนี้เพื่อการประมวลข้อมูล
                      ก. Hard disk
                      ข. VGA Card
                      ค. RAM
                      ง. Speaker

2. ความเข้าใจ (Comprehension) สามารถขยายความรู้ความจำให้ไกลออกไปและมีเหตุผลมากยิ่งขึ้น แยกเป็น ๓ ขั้น ดังนี้
          2.1 การแปลความ (Translation) สามารถถอดและแปลความจากภาษาหนึ่งไปยังภาษาหนึ่งเพื่อความเข้าใจได้
          2.2 การตีความ (Interpretation)  เอาความหมายจากการแปลความและขยายแนวคิดใหม่
          2.3 การขยายความ (Extrapolation) การขยายความคิดให้กว้างไกลออกไปและมีเหตุผลสนับสนุนอย่างเพียงพอ

ตัวอย่าง
        ความเข้าใจ : หากถ่าน BIOS หมดจะเกิดอะไรขึ้น
                  ก. คอมพิวเตอร์เปิดไม่ติด
                  ข. คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้ช้า
                  ค. คอมพิวเตอร์ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
                  ง. คอมพิวเตอร์จะไม่จดจำวันที่และเวลาได้

3. การนำไปใช้ (Application) คือการนำเอาความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวใดๆ ไปแก้ปัญหาที่แปลกใหม่โดยมีความรู้ความจำ และความเข้าใจเป็นพื้นฐาน ทำให้เกิดความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะวิธีการ
ตัวอย่าง
      การนำไปใช้ : ก้อยต้องการแก้ปัญหาการติดต่อสื่อสารภายในองค์ขนาดเล็ก ก้อยควรจะใช้วิธีใด เพื่อให้ภายในองค์กรเกิดความสะดวกรวดเร็วและมีเสถียรภาพ อย่างเหมาะสมมากที่สุด
                  ก. ใช้ Mac book  จัดทำเป็นเครื่องแม่ข่ายและควบคุมการทำงานขององค์กร
                  ข. ใช้ Note book จำลองเป็น windows server เพื่อทำหน้าที่แจก IP Address และจ่ายเน็ให้ทุกคนภายในองค์กรได้ใชอย่างสะดวกสบาย
                  ค. ใช้ Personal Computer จัดทำเป็นเครื่อง server เพื่อจัดระบบภายในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น
                  ง. ใช้ Main frame จัดทำ server ขนาดใหญ่ เพื่อครอบคลุมทั้งองค์กร

4. การวิเคราะห์ (Analysis) คือความารถในการแยกแยะและตีความหมายออกเป็นส่วนๆ และสามารถวิเคราะห์แต่ละส่วนให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ แบ่ง ๓ ขั้นตอน ดังนี้
           4.1 วิเคราะห์ความสำคัญ (Analysis of element) ค้นหาจุดเด่นชัดของเรื่องราวตามเกณฑ์ที่กำหนด วิเคราะห์ความสำคัญ วิเคราะห์เลศนัย
           4.2 วิเคราะห์สัมพันธ์ (Analysis of relationships)  วิเคราะห์หาคุณลักษณะที่สำคัญของเรื่องราวต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน
           4.3 วิเคราะห์หลักการ (Analysis of organizational principles) วิเคราะห์หลักการของการดำรงสภาพนั้นอยู่ได้ด้วยอะไร ยึดอะไรเป็นหลัก และเชื่อมโยงกับสิ่งใดบ้าง

ตัวอย่าง
      การวิเคราะห์ : ข้อใดคือค่านิยมของคนสมัยใหม่?
               ก. ระบบปฏับัติการ Windows vista เป็นที่ยอมรับและยอดนิยมของคนทั่วไป
               ข. คนไทยส่วนใหญ่ยอมจ่ายค่าลิขสิทธิ์ Windows 7 เพื่อให้ได้ของแท้ และสิทธิในการอัพเดท
               ค. ระบบปฏับัติการ Mac OS X มีความเสถียรและปลอดภัยจากไวรัส
               ง. หากใช้ผลิตภัณฑ์ของ Apple จะทำให้มีภาพลักษณ์ที่ดูดี

5. การสังเคราะห์ (Synthesis) คือการนำเอาของตั้งแต่ ๒ สิ่งเป็นอย่างน้อยมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ มีคุณษณะที่แตกต่างไปจากของเดิมของทั้งสองสิ่ง แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
           5.1 การสังเคราะห์ข้อความ (Production of unique communication) ประกอบไปด้วย การวิเคราะห์คำพูด, การเขียน และการแสดง
           5.2 สังเคราะห์แผนงาน (Production of plan or proposed set of operation) เป็นความสามารถในการสร้างโครงสร้างหรือแผนงานในทำกิจกรรมต่างๆ
           5.3 การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ (Derivation of set of abstract relation) สามารถจัดระเบียบข้อเท็จจริงต่างๆ เสียใหม่เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

ตัวอย่าง
         การสังเคราะห์ : นายดำเก่งโปรแกรม Illustrator
                                  นายขาวเก่งโปรแกรม Flash
         คำถาม : นักเรียนทั้งสองคนควรจะทำเช่นไรเพื่อให้งานอนิเมชั่นที่จะส่งเข้าประกวดในเร็วๆ นี้ออกมาดีที่สุด
                                ก. ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด
                                ข. แบ่งงานกัน และทำงานในส่วนของตนเองให้เรียบร้อย
                                ค. สร้างผลงานร่วมกัน ปรึกษา หาแนวทางการสร้างผลงานให้เกิดผลดีที่สุด
                                ง. นายดำวาดภาพเสร็จแล้วส่งต่อให้นายขาวทันที

6. การประเมินค่า (Evaluation) หมายถึงความสามารถในการตัดสิน โดยอาศัยเกณฑ์ (Criteria) และมาตรฐาน (Standard) มี ๒ ประเภดังนี้
             6.1 ประเมินโดยอาศัยเกณฑ์ภายใน >> อาศัยความเที่ยงตรง, เอกพันธ์ของเรื่อง, ความถูกต้องสมบูรณ์ของเนื้อหา, ประสิทธิภาพของวิธีการ, ความสมเหตุสมผล
             6.2 ประเมินโดยอาศัยเกณฑ์ภายนอก เปรียบเทียบโดยใช้เกณฑ์ภายนอกมาใช้เทียบเคียง

ตัวอย่าง
    การประเมินค่า : การที่เด็กไทยติด Game Online เป็นผลดีหรือไม่? เพราะเหตุใด
                               ก. ไม่ดี เพราะโลกเกมออนไลน์ยากแก่การควบคุม
                               ข. ไม่ดี เพราะทำให้เด็กขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ห่างเหินจากคุณคุณธรรม จริยธรรม                                         และยังเสียสุขภาพอีกด้วย
                               ค. ดี เพราะสามรถติดตามข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
                               ง. ทำให้มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากภายนอกได้                                        อย่างดี