วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

Bloom ได้แบ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัยออกเป็น 6 ขั้น ดังต่อไปนี้




1. ความรู้ความจำ (Knowledge) เป็นความสามารถในเก็บรักษา ประมวลผลข้อมูลต่างๆ การระลึกเนื้อหาเรื่องราว การจดจำเนื้อหา ที่เคยเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน หรือประสบการณ์ที่เคยได้รับ แบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
          1.1 ความรู้ในเนื้อเรื่อง (Knowledge of specifics) เป็นความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง เรื่องราว 
                1.1 ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และนิยาม (Knowledge of terminology)
                1.2 ความรู้เกี่ยวกับกฏและความจริง  คำจำกัดความ รูปภาพ จำนวน สถานที่ ฯลฯ
          1.2 ความรู้ในวิธีดำเนินการ (Knowledge of ways and means of dealing with specifics) คือวิธีการดำเนินการในกิจการงาน และเรื่องประกาวด้วย 5 วิธีด้วยกัน ดังนี้
                1.2.1 ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผนประเพณี  (Knowledge of conventions) ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมต่างๆ
                1.2.2 ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม (Knowledge of trends and sequences)
                1.2.3 ความรู้เกี่ยวกับการจัดประเภท (Knowledge of classifications and categories) สามารถระบุหมวดหมู่
                1.2.4 ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ (Knowledge of criteria) สามารถเปรียบเทียบว่าสิ่งใดดีเลวต่างกัน
                1.2.5 ความรู้ในวิธีดำเนินการ  (Knowledge of methodology) วัดวิธีการปฏิบัติงานด้านต่างๆ
         1.3 ความรู้รวบยอดในเนื้อเรื่อง (Knowledge of universals and abstractions in the field) 
                1.3.1 ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาและการขยายหลักวิชา (Knowledge of universals and abstractions in the field) เป็นความคิดรวบยอดของหลักวิชา หรือแกนหลักวิชา
                1.3.2 ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง (Knowledge of theories and structures) สามารถค้นหาทฤษฎีและโครงสร้าง

ตัวอย่าง
    ความรู้ความจำ : Central Processing Unit (CPU) ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ชนิดใดต่อไปนี้เพื่อการประมวลข้อมูล
                      ก. Hard disk
                      ข. VGA Card
                      ค. RAM
                      ง. Speaker

2. ความเข้าใจ (Comprehension) สามารถขยายความรู้ความจำให้ไกลออกไปและมีเหตุผลมากยิ่งขึ้น แยกเป็น ๓ ขั้น ดังนี้
          2.1 การแปลความ (Translation) สามารถถอดและแปลความจากภาษาหนึ่งไปยังภาษาหนึ่งเพื่อความเข้าใจได้
          2.2 การตีความ (Interpretation)  เอาความหมายจากการแปลความและขยายแนวคิดใหม่
          2.3 การขยายความ (Extrapolation) การขยายความคิดให้กว้างไกลออกไปและมีเหตุผลสนับสนุนอย่างเพียงพอ

ตัวอย่าง
        ความเข้าใจ : หากถ่าน BIOS หมดจะเกิดอะไรขึ้น
                  ก. คอมพิวเตอร์เปิดไม่ติด
                  ข. คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้ช้า
                  ค. คอมพิวเตอร์ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
                  ง. คอมพิวเตอร์จะไม่จดจำวันที่และเวลาได้

3. การนำไปใช้ (Application) คือการนำเอาความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวใดๆ ไปแก้ปัญหาที่แปลกใหม่โดยมีความรู้ความจำ และความเข้าใจเป็นพื้นฐาน ทำให้เกิดความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะวิธีการ
ตัวอย่าง
      การนำไปใช้ : ก้อยต้องการแก้ปัญหาการติดต่อสื่อสารภายในองค์ขนาดเล็ก ก้อยควรจะใช้วิธีใด เพื่อให้ภายในองค์กรเกิดความสะดวกรวดเร็วและมีเสถียรภาพ อย่างเหมาะสมมากที่สุด
                  ก. ใช้ Mac book  จัดทำเป็นเครื่องแม่ข่ายและควบคุมการทำงานขององค์กร
                  ข. ใช้ Note book จำลองเป็น windows server เพื่อทำหน้าที่แจก IP Address และจ่ายเน็ให้ทุกคนภายในองค์กรได้ใชอย่างสะดวกสบาย
                  ค. ใช้ Personal Computer จัดทำเป็นเครื่อง server เพื่อจัดระบบภายในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น
                  ง. ใช้ Main frame จัดทำ server ขนาดใหญ่ เพื่อครอบคลุมทั้งองค์กร

4. การวิเคราะห์ (Analysis) คือความารถในการแยกแยะและตีความหมายออกเป็นส่วนๆ และสามารถวิเคราะห์แต่ละส่วนให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ แบ่ง ๓ ขั้นตอน ดังนี้
           4.1 วิเคราะห์ความสำคัญ (Analysis of element) ค้นหาจุดเด่นชัดของเรื่องราวตามเกณฑ์ที่กำหนด วิเคราะห์ความสำคัญ วิเคราะห์เลศนัย
           4.2 วิเคราะห์สัมพันธ์ (Analysis of relationships)  วิเคราะห์หาคุณลักษณะที่สำคัญของเรื่องราวต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน
           4.3 วิเคราะห์หลักการ (Analysis of organizational principles) วิเคราะห์หลักการของการดำรงสภาพนั้นอยู่ได้ด้วยอะไร ยึดอะไรเป็นหลัก และเชื่อมโยงกับสิ่งใดบ้าง

ตัวอย่าง
      การวิเคราะห์ : ข้อใดคือค่านิยมของคนสมัยใหม่?
               ก. ระบบปฏับัติการ Windows vista เป็นที่ยอมรับและยอดนิยมของคนทั่วไป
               ข. คนไทยส่วนใหญ่ยอมจ่ายค่าลิขสิทธิ์ Windows 7 เพื่อให้ได้ของแท้ และสิทธิในการอัพเดท
               ค. ระบบปฏับัติการ Mac OS X มีความเสถียรและปลอดภัยจากไวรัส
               ง. หากใช้ผลิตภัณฑ์ของ Apple จะทำให้มีภาพลักษณ์ที่ดูดี

5. การสังเคราะห์ (Synthesis) คือการนำเอาของตั้งแต่ ๒ สิ่งเป็นอย่างน้อยมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ มีคุณษณะที่แตกต่างไปจากของเดิมของทั้งสองสิ่ง แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
           5.1 การสังเคราะห์ข้อความ (Production of unique communication) ประกอบไปด้วย การวิเคราะห์คำพูด, การเขียน และการแสดง
           5.2 สังเคราะห์แผนงาน (Production of plan or proposed set of operation) เป็นความสามารถในการสร้างโครงสร้างหรือแผนงานในทำกิจกรรมต่างๆ
           5.3 การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ (Derivation of set of abstract relation) สามารถจัดระเบียบข้อเท็จจริงต่างๆ เสียใหม่เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

ตัวอย่าง
         การสังเคราะห์ : นายดำเก่งโปรแกรม Illustrator
                                  นายขาวเก่งโปรแกรม Flash
         คำถาม : นักเรียนทั้งสองคนควรจะทำเช่นไรเพื่อให้งานอนิเมชั่นที่จะส่งเข้าประกวดในเร็วๆ นี้ออกมาดีที่สุด
                                ก. ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด
                                ข. แบ่งงานกัน และทำงานในส่วนของตนเองให้เรียบร้อย
                                ค. สร้างผลงานร่วมกัน ปรึกษา หาแนวทางการสร้างผลงานให้เกิดผลดีที่สุด
                                ง. นายดำวาดภาพเสร็จแล้วส่งต่อให้นายขาวทันที

6. การประเมินค่า (Evaluation) หมายถึงความสามารถในการตัดสิน โดยอาศัยเกณฑ์ (Criteria) และมาตรฐาน (Standard) มี ๒ ประเภดังนี้
             6.1 ประเมินโดยอาศัยเกณฑ์ภายใน >> อาศัยความเที่ยงตรง, เอกพันธ์ของเรื่อง, ความถูกต้องสมบูรณ์ของเนื้อหา, ประสิทธิภาพของวิธีการ, ความสมเหตุสมผล
             6.2 ประเมินโดยอาศัยเกณฑ์ภายนอก เปรียบเทียบโดยใช้เกณฑ์ภายนอกมาใช้เทียบเคียง

ตัวอย่าง
    การประเมินค่า : การที่เด็กไทยติด Game Online เป็นผลดีหรือไม่? เพราะเหตุใด
                               ก. ไม่ดี เพราะโลกเกมออนไลน์ยากแก่การควบคุม
                               ข. ไม่ดี เพราะทำให้เด็กขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ห่างเหินจากคุณคุณธรรม จริยธรรม                                         และยังเสียสุขภาพอีกด้วย
                               ค. ดี เพราะสามรถติดตามข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
                               ง. ทำให้มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากภายนอกได้                                        อย่างดี


วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญา (Cognitive Theories)

          วิเคราะห์พฤติกรรมกลุ่มพุทธิปัญญา จากภาพยนตร์ เรื่อง "Inside out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง"


   * เรื่องย่อ

              เรื่องราวของ ริลีย์ เด็กหญิงวัย 11 ปี ที่เติบโตขึ้นมาในชีวิตแบบตะวันตกตอนกลาง และจำต้องย้ายบ้านตามพ่อแม่มายังเมืองซาน ฟรานซิสโก หลังจากพ่อของต้องมาเริ่มงานที่ใหม่ ณ เมืองที่ริลีย์ไม่คุ้นเคย  ชีวิตของริลีย์ต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เธอต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่แตกต่างออกไปจากเดิม และต้องเผชิญกับอารมณ์มากมายที่เข้ามาหลังจากการเปลี่ยนแปลงชีวิตครั้งนี้ของเธอ จนนำมาสู่การแสดงออกทางอารมณ์ต่างๆ ทั้ง 5 ได้แก่ ความสุข (Joy), ความกลัว(Fear), ความโกรธ (Anger ), ความน่ารังเกียจ (Disgust) และความเศร้า (Sadness) 

                 เมื่ออารมณ์ทั้งหมด ล้วนอาศัยอยู่ในศูนย์บัญชาการใหญ­่ ภายใต้การควมคุมของจิตใจไรลีย์ คำแนะนำของพวกเขาจะช่วยเหลือเธอให้ผ่านชีวิต­ในแต่ละวันได้ไปได้อย่างไร? เมื่อบทสรุปของความขัดแย้งทางอารมณ์เป็นเหมือนเข็มทิศชี้นำแนวทางให้ริลีย์ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้ได้ (http://www.metalbridges.com/inside-out-2015/)

     ** ตัวละคร

                   จอย เป็นอารมณ์ความสุขมองโลกในแง่ดี สนุกสนานในทุกๆสถานการณ์ อารมณ์ความสุขเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขน้อยที่สุดเป็นเพียงแค่การสะดุดเล็กๆก่อนที่จะได้พบกับสิ่งดีๆ เป็นอารมณ์ที่นานจะมาสักครั้ง คาแรกเตอร์เด่นของ Joy จอย เป็นตัวละครสาวน้อยตัวสีเหลืองสดใสผู้มาพร้อมกับผมสีฟ้าและร่าเริงตลอดเวลา
                   แองเกอร์  เป็นอารมณ์ความโกรธ ชอบความเท่าเทียมและยุติธรรม มักตอบสนองเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างรวดเร็วถ้าไม่พอใจละก่อหัวจะลุกเป็นไฟ คาแรกเตอร์เด่นของ Anger แองเกอร์  เป็นตัวละครผู้ชายอ้วนสีแดงทั้งตัวเวลาโกรธจัดหัวจะลุกเป็นไฟ มีความอดทนต่ำกับความไม่สมบูรณ์แบบของชีวิตมาก

                    เฟียร์  เป็นอารมณ์ความกลัว ทำหน้าที่รับผิดชอบความปลอดภัย  เขาจะคอยระแวดระวังหายนะต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้เสมอ และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการคำนวณเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้น คาแรกเตอร์เด่นของ Fear เฟียร์  เป็นตัวละครผู้ชายร่างผอมสีม่วง ผู้คอยระแวดระวังภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น

                   แซดเนส เป็นอารมณ์ความเศร้า ทำหน้าที่รับผิดชอบความเศร้าและความสุข เป็นตัวละครที่สามารถความคุมอารมณ์ทั้งสองอย่างได้เลย ถ้า Sadness แซดเนส มองในแง่ดีก็จะทำให้ Joy จอย มีความสุข ถ้ามองในแง่ร้ายก็จะทำให้ Sadness แซดเนส ออกมา คาแรกเตอร์เด่นของ Sadness แซดเนส เป็นตัวละคร สาวร่างท้วม ชอบคอตกสีฟ้าและพูดยานคาง เศร้าซึม ก็คิดว่าสิ่งที่ดีที่สุดที่ควรทำคือการนอนกองอยู่กับพื้นแล้วร้องไห้

                   ดิสกัส เป็นอารมณ์ความรังเกียจ ทำหน้าที่ป้องกันสิ่งแปลกปลอมสารพิษที่เป็นอันตรายทั้งต่อร่างกายและทั้งด้านร่างกายและสังคม คาแรกเตอร์เด่นของ Disgust ดิสกัส เป็นตัวละครสาวเต็มตัวสีเขียวผมสีเขียวสดใส่ผู้มาพร้อมกับความดื้อสุดขีดตรงสุดๆ คอยจับตาดูผู้คน สถานที่ และสิ่งของต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิต (http://www.hotmoviehd.com/inside-out-5.html)

*** วิเคราะห์พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มพุทธิปัญญา

        1. ทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญาของเพียเจต์
            ขั้นที่ 1. Sensorimotor State โดยเด็กทารกในวัยนี้จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยประสาทสัมผัส เคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย สังเกตเห็นได้จากที่ ริลีย์ วิ่งลากรถของเล่น , ชอบเล่นฮอกกี้น้ำแข็งและทำประตูได้, ชอบสนามเด็กเล่น
            ขั้นที่ 2. Preoperationl State ริลีย์มีพัฒนาการทางด้านภาษาเพิ่มมากขึ้น เพิ่มเป็นประโยคและมีคำศัพท์มากขึ้น มีจินตนาการมากขึ้น รู้จักคิดแก้ปัญหาสังเกตได้ในตอนที่พ่อแม่ทะเลาะกันและริลีย์ก็คิดขึ้นแก้ปัญหาโดยการใช้กระดาษขยำเป็นลูกบอลฮอกกี้เพื่อหันเหความสนใจจากพ่อและแม่ได้
            ขั้นที่ 3. Concrete Operations State  เด็กในวัยนี้เริ่มมีความคิดของตนเอง เห็นได้จากที่ริลีย์มีความสามารถในการใช้เหตุผลมากขึ้น โดยเริ่มจากที่ครอบครัวของเธอย้ายไปที่เมืองอื่น ซึ่งทำให้เธอประสบพบเจอกับเรื่องเลวร้ายและไม่เป็นที่น่าพอใจ จึงเป็นเหตุผลที่ทำเธอคิดที่จะหนีกลับไปที่บ้านเดิม
            ขั้นที่ 4. Formal Operations State สังเกตได้จากตอนที่ริลีย์อายุได้ 12 ปีนั้น จะเริ่มมีพัฒนาการมากขึ้น โดยภายในศูนย์ควบคุมของสมองนั้นจะมีการพัฒนาหน่วยการควบคุมใหม่ที่มี ฟังก์ชั่นเพิ่มมากขึ้น เช่น ปุ่มแตกสาว และแผงควบคุมของแต่ละคนที่อยู่ภายในสมองนั้นก็มีขนาดใหญ่ กว้างขึ้นพร้อมที่จะพัฒนาต่อไป

        2. ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางปัญญาของบรูเนอร์ 
             1. Enactive Representation เป็นการเรียนรู้ที่แสดงออกด้วยการกระทำ ลงมือปฏิบัติและจะเป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สังเกตได้จากตอนที่ริลีย์ยังเป็นเด็กนั้น ริลีย์มีทักษะการเล่นกีฬาฮอกกี้, ชอบวิ่งเล่น, ชอบเล่นสวนสนุก, อาบน้ำโดยมีเครื่องเล่นต่างๆ เป็นการเรียนรู้โดยการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น
             2. Iconic Representation มีพัฒนาการในด้านการใช้ภาพในใจแทนวัสดุสิ่งของ มีจินตนาการ หรือมโนภาพ (Imagery) สังเกตได้จากที่ริลีย์ มีจินตนการที่อยากไปดวงจันทร์โดยรถของเล่น
             3. Sysmbolic Representation เป็นขั้นสูงสุดในพัฒนาการทางพุทธิปัญญาตามความคิดของบรูเนอร์ โดยมีพัฒนาการทางด้านภาษา ความรู้ การคิดอย่างมีเหตุผล การแก้ปัญหา สังเกตได้จากตอนที่ริลีย์ ใช้เหตุผลในการตัดสินใจที่จะหนีออกจากบ้านเพื่อกลับไปบ้านเดิม เพราะเหตุว่าประสบกับเรื่องเลวร้ายที่บ้านใหม่ นั่นถือว่ามีการคิดและการตัดสินใจ ส่วนการแก้ปัญหาเห็นได้จากตอนที่พ่อแม่และแม่ของเธอทะเลาะกัน และเธอก็แก้ปัญหาโดยการใช้กระดาษทำเป็นลูกฮอกกี้เพื่อหันเหความสนใจของพ่อแม่มาที่ตัวเธอ และเธอก็มีพัฒนาการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สังเกตจากตอนท้ายของภาพยนตร์ที่มีแผงควบคุมในสมองของเธอเพิ่มมากขึ้น นั่นแสดงว่าเธอมีพัฒนาการที่พร้อมเต็มที่แล้วนั่นเอง

       3. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบล (Ausubel)
           สังเกตได้จากที่เดิมทีนั้น ริลีย์มีความรู้ ความเข้าใจ อารมณ์ ความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับชีวิตในวัยเด็กจากที่อยู่เดิม พอหลังจากที่ย้ายบ้านเข้าไปในเมือง และริลีย์ประสบพบเจอกับเรื่องเลวร้ายทำให้เธอได้รับประสบการณ์ใหม่ นั่นทำให้เธอเริ่มมีความคิดพิจารณาหาเหตุผลแล้วว่า ประสบการณ์ใหม่เป็นประสบการณ์ที่เลวร้ายไม่น่าพบเจอ เธออยากกลับไปที่บ้านเก่าเพื่อที่จะได้เจอกับสภาวะสิ่งแวดล้อมเก่าๆ ที่ทำให้เธอเคยมีความสุข นั้นหมายความ ประสบการณ์เดิมของเธอ มีความหมายต่อชีวิตของเธอมากกว่าประสบการณ์ใหม่ที่เลวร้ายและผ่านการพิจารณาด้วยระดับเชาว์ของเด็กในวัยนนี้แล้วว่า  ต้องการที่จะกลับไปที่บ้านเดิม เพื่อรับประสบการณ์ที่ดีเช่นเดิม

       4. แนวคิดกลุ่มทฤษฎีประมวลผลสารสนเทศ (Information Processing)
           1. การบันทึกผัสสะ (Sensory Register) สิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อมได้เข้ามากระทบกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษญ์ ไม่ว่าจะเป็น หู ตา จมูก ลิ้น กาย ซึ่งเป็นความจำระบบแรกของการประมวลสารสนเทศก่อนที่มนุษย์จะเลือกและพิจารณารับรู้และเก็บไว้ในความทรงจำต่อไป
               1.1 การรู้จัก (Recognition) ริลีย์มีความรู้จักกีฬาฮอกกี้ รู้จักพ่อแม่ รู้จักของเล่น รู้จักสนามเด็กเล่น รู้จักอาหาร รู้จักที่อยู่ศัย อันเป็นการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกตามกระบวนของการพัฒนา
               1.2 การใส่ใจ (Attention) ริลีย์ให้ความสนใจกับกีฬาฮอกกี้เป็นพิเศษที่ชอบเล่น และทำให้เธอมีทักษะการเล่นในระดับที่ดี
           2. ความจำระยะสั้น (Short - Term Memory) เป็นแหล่งที่สองของการบันทึกความจำ หลังจากประสบการณ์ต่างๆ จากการบันทึกผัสสะ เป็นแหล่งแรกของการบันทึกความจำ สังเกตได้จากที่ในแต่ละวันนั้น ริลีย์มีความทรงจำระยะสั้นมากมาย ที่เกิดจากอารมณ์ต่างๆ เป็นผู้กระทำและกำหนด จากนั้นความทรงจำก็จะถูกบันทึกอยู่ในรูปแบบลูกแก้วในแต่ละสีของอารมณ์ต่างๆ จะถูกนำมาเก็บไว้ในหน่วยควบคุมหรือศูนย์ควบคุมภายในสมองนั่นเอง
           3. ความจำระยะยาว (Long-Term Memory) ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในระยะสั้นนั้นจะถูกนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว สังเกตได้จากที่ภายในศูนย์ควบคุมภายในสมองนั้น ริลีย์จะมีหน่วยความจำระยะยาวแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ บ้านและครอบครัว, อารมณ์ติ๊งต๊อง, มิตรภาพ, ความจริงใจ ในแต่ะละวันนั้น จะมีลูกบอลสีต่างๆ ตามอารมณ์ความรู้สึก และบ้านฮอกกี้

      4. หลักการสำคัญของทฤษฎีพุทธิปัญญา (Key Concept of Cognitive Theory) และการนำไปใช้
          1. ขั้นที่ 1 Sensory Register บันทึกผัสสะ สังเกตได้จากที่เธอสัมผัสของเล่น, เล่นกีฬาฮอกกี้, ทานอาหาร, การเห็นร้านพิซซ่า ล้วนเป็นการสัมผัสในเบื้องต้นทั้งสิ้น
          2. ขั้นที่ 2 ในความจำระยะสั้น (Short- Term Memory: STM) ถูกบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น จากนั้นอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่ได้ประสบพบเจอในแต่ละวัน และสามารถเรียกใช้ได้สังเกตที่นึกถึงร้านพิซซ่าที่พึ่งผ่านมาและกลับไปรับประทานได้ อีกทั้งยังสามารถเรียกใช้ความทรงจำระยะสั้นในตอนที่นึกถึงตอนที่ถ่ายรูปกับไดโนเสาร์ และอื่นๆ อีก เป็นต้น
          3. ขั้นที่ 3 ความจำระยะยาวและการเก็บรักษา (Long-Term Memory : LTM) สามารถสังเกตได้จากตอนที่ริลีย์เรียกใช้ความทรงจำระยะยาวในเกาะติ๊งต๊อง ในการตัดสินใจว่าจะสไลค์ลงมาจากบันไดหรือไม่ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral Theories)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral Theories)

 แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
      1. Respondent Behavioral หรือการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)
 
  
      โดยแนวคิดของ พาฟลอพ (Pavlov) ที่ใช้การวางสร้างความสัมพันธ์ โดยมีสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ที่ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อหาอธิบายหลักการเรียนรู้ที่เกิดจากพฤติกรรมนิยม โดยสิ่งเร้า Stimuls และ การตอบสนอง Respone  จะต้องเป็นไปในลักษณะที่ สิ่งเร้าเป็นตัวส่งผลต่อการตอบสนอง เมื่อมีการตอบสนองเกิดขึ้น นั่นย่อมแสดงให้เห็นได้ว่า พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง และเกิดการเรียนรู้

      ส่วนแนวคิดของ "วัตสัน" (Watson) จะเน้นในเรื่องของความรู้สึก ความกลัว ซึ่งวิธีการมีลักษณะเหมือนกับแนวคิดของ พาฟลอพ คือ มีสิ่งเร้า และการตอบสนองเพื่อ ให้บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและเกิดการเรียนรู้


 2. Operant Behavior  คือทฤษฎีการวางเงือนไขแบบกระทำ (Operant Conditioning Theory) มีนักจิตวิทยา 2 ท่าน ได้แก่ ธอร์นไดค์ (Thorndike) และ สกินเนอร์ (Skinner) โดยแนวคิดของทฤษฎีนี้ ผู้เรียนจะต้องลงมือกระทำเอง โดยมิใช่เป็นการแสดงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นและเกิดการตอบสนองต่อสิ่งนั้น


        ในทฤษฎีของธอร์นไดค์ เป็นการลองผิดลองถูก (Trial and Error) ต่อสิ่งเร้า และตอบสนองต่อสิ่งเร้า เพียงแค่นั้นยังไม่พอ จะต้องมีการเสริมแรงในด้านการให้รางวัลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  กล่าวคือ เมื่อเกิดการตอบสนองต่อสิ่งเร้าแล้ว หากว่าการตอบสนองนั้นเป็นผลลัพธ์ที่ดีและพึงพอใจ (ได้รับการเสริมแรง) ย่อมทำให้บุคคลเกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น (อยากกระทำเช่นนั้นต่อไป)  และธอร์นไดค์ยังได้สรุปผลเป็นกฏแห่งการเรียนรู้  ดังนี้ 1. Law of effect 2. Law of readiness 3. Law of Exercise และ 4. Law of use and disuse


    ส่วนทฤษฎีของสกินเนอร์นั้น มีลักษณะที่คล้ายกับธอร์นไดค์ แต่แนวคิดของสกินเนอร์จะเน้นที่ตัวเสริมแรง (Reinforcement) มากกว่าสิ่งอื่นใด โดยสกินเนอร์จะให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำ โดยมีรางวัลทั้งด้านบวก เป็นแรงเสริมห้ผู้เรียนรักษาพฤติกรรมอันพึงประสงค์ให้คงทนถาวร หรือ ให้รางวัลในด้านลบเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้ลดน้อยลงจนเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยสกินเนอร์ได้ทำการวิจัยการให้รางวัลอย่างละเอียดจนสกินเนอร์มีเชื่อมั่นว่า "การเสริมแรงเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรมหรือ การเรียนรู็ของนักเรียน ดังนั้น ครูที่ดีจะต้องสามารถจัดสภาพการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้รับแรงเสริมเมื่อการเรียนรู้ได้เกิดขึ้น พฤติกรรมใดที่ได้รับแรงเสริมพฤติกรรมนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งที่นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวร พฤติกรรมใดที่ไม่ได้รับแรงเสริม แม้ว่าจะเน้นสิ่งที่ครูต้องการให้เกิดก็จะไม่อยู่นานคงทน"




วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำถามท้ายบทเรียน บทที่ 1

คำถามข้อที่ 1. MOOCs (Massive Open Online Course System) ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทใด เพราะอะไร
   ตอบ

            M ย่อมาจาก Massive  หมายถึง ขนาดใหญ่
            O ย่อมาจาก Open หมายถึง เปิดเสรี ฟรี
            O ย่อมาจาก Online หมายถึง ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
            C ย่อมาจาก Course หมายถึง วิชาหรือหลักสูตร

            MOOCs ถือว่าเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอน เพราะ MOOCs เป็นวิธีการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมุ่งเน้นการเรียนการสอนสำหรับกลุ่มคนขนาดใหญ่แบบเสรี สามารถรองรับจำนวนได้ไม่จำกัด มีเนื้อหาแบบเปิด (Open licensing content) ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบการเรียนที่กำลังเป็นที่นิยมและกำลังได้รับความสนใจจากผู้คนทุกเพศ ทุกวัย ขยายขอบข่ายของการเรียนรู้ให้กว้างขวางไม่มีขีดจำกัด โดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรายวิชาได้ตามต้องการ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เป็นระบบการบริการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

คำถามข้อที่ 2. ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งออกได้กี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีอย่างไร
    ตอบ

          ประเภทของการใช้นวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทยทั้งที่ผ่าน และในอนาคตที่ประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ มี 5 ประเภทดังนี้

                     1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
                     2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
                     3. นวัตกรรมสื่อการสอน
                     4. นวัตกรรมการประเมินผล
                     5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ

 1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
       นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎีและปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ 
        
      ข้อดี ของนวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
  • ได้หลักสูตรที่มีความเหมาะสมและทันสมัยกับการเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ ที่จากเดิมเรียนในระบบห้องเรียน มาเป็นระบบการเรียนออนไลน์ด้วยเทคโนโลยี ด้วยการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนให้ครอบคลุมเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเป็นอย่างดี

 2.  นวัตกรรมการเรียนการสอน
         เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ
    
          ข้อดีของนวัตกรรมการเรียนการสอน
  • มีระบบการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นใหม่ เนื่องจากมีการพัฒนาหลักสูตรการสอนด้วยเทคโนโลยีทางการศึกษาแล้ว การออกแบบและสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนที่สมัยและสอดคล้องกับหลักสูตรนั้นย่อมเป็นไปในทิศทางเดียว กล่าวคือ เมื่อหลักสูตรมีความทันสมัยกับเทคโนโลยีแล้ว ระบบการเรียนการสอนย่อมพัฒนาการเรียนรู้ให้อยู่ในรูปแบบอินเทอร์เน็ต เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วและสามารถค้นคว้าหาข้อมูลในการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายและเกิดประโยชน์มากที่สุด

 3.  นวัตกรรมสื่อการสอน
         เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่
  
      ข้อดีของนวัตกรรมสื่อการสอน
  • เมื่อเกิดการเรียนรู้ที่อยู่ในรูปแบบบทเรียนออนไลน์แล้วนั้น จำเป็นที่จะต้องมีสื่อการเรียนการสอนอันเปรียบเสมือนเครื่องมือในการที่จะสร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียน สื่อการเรียนรู้จะต้องมีความทันสมัย ดึงดูดผู้เรียน ทำให้เกิดการพัฒนาสื่อการสอนต่าง ๆ ที่ไม่ว่าจะเป็น วิดีโอการเรียนรู้ มัลติมีเดีย ชุดการสอน แบบฝึกหัดต่าง ที่ทำให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น สร้างปฏิสัมพันธ์เกิดการโต้ตอบต่อผู้เรียน ด้วยระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยนั้นเอง

4.  นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล
       เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่

- การพัฒนาคลังข้อสอบ
- การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
- การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา
- การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด
         ข้อดีของนวัตกรรมด้านการประเมินผล
  • ทำให้ได้เครื่องมือที่ทันสมัยต่อการวัดและประเมินผลของการจัดการศึกษา เพื่อวัดความสามารถทางทักษะด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนที่หลังจากได้รับการจัดการเรียนการสอนไปแล้ว ให้มีความเที่ยงตรงและแม่นยำ อีกทั้งตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้รู้ว่าตัวเองผ่านเกณฑ์หรือไม่ และนวัตกรรมด้านการประเมินยังเป็นเครื่องมือที่บ่งบอกว่า ระบบการจัดการเรียนสอนเป็นอย่างไร ต้องปรับปรุงพัฒนาหรือเพิ่มเติมในส่วนใดบ้าง เพื่อให้การจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากที่สุ๊ด
 5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ
        เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
 นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง
         ข้อดีของนวัตกรรมด้านการประเมินผล
  • ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษามีข้อมูล และเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเพื่อการดำเนินงานขององค์กร หน่วยงานการศึกษา หน่วยงานอื่นๆ เป็นไปในทิศทางที่อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาแก่องค์กรนั้นๆ อย่างแท้จริง
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำถามข้อที่ 3. สมมติว่านักศึกษาไปเป็นครูประจำการ นักศึกษาจะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาใดเข้ามาช่วยในการจัดการในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) ของผู้เรียนที่นักศึกษาได้ไปสอนและเพราะเหตุใดจึงเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษานั้น

   ตอบ
             นวัตกรรมทางด้านสื่อการสอน เพราะว่า การแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคลนั้น กระผมคิดว่าครูเป็นผู้สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ คอยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน จะต้องมีสื่อการเรียนรู้ที่คอยกระตุ้นนความสนใจของผู้เรียน ดึงดูดผู้เรียนทุกให้เกิดความอยากใฝ่เรียนรู้ และสามารถเลือกนวัตกรรมด้านสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับแต่และบุคคล
             การจัดการเรียนรู้ที่ยอมรับว่าบุคคลหรือผู้เรียนมีความแตกต่างกัน และทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ ดังนั้นในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูหรือผู้จัดการเรียนรู้ควรมีความเชื่อพื้นฐานอย่างน้อย 3 ประการ คือ
               1. เชื่อว่าทุกคนมีความแตกต่างกัน
               2. เชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
               3. เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดได้ทุกที่ ทุกเวลา
            โดยที่ครูสามารถวิเคราะห์ความแตกต่างของแต่ละบุคคลได้แล้วนั้น ย่อมเป็นการดีที่จะช่วยให้การเรียนรู้ของแต่ละบคคลให้เต็มตามศักยภาพมากที่สุด และสิ่งที่สำคัญในการที่จะทำให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิผลมากที่สุดคือ สื่อการเรียนรู้ที่สามารถตอบสนองการแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคลได้นั่นเอง

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำถามข้อที่ 4. ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครู จึงต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

    ตอบ  เพราะนวัตกรรมและเทคโนโลยีถือเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของการศึกษาในปัจจุบัน เพราะการศึกษาในปัจจุบันเป็นการศึกษาที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยเพื่อความสะดวก รวดเร็ว ของผู้เรียนและตัวผู้สอนเอง แต่ในที่นี้ตัวผู้สอนจะต้องคิด ประดิษฐ์สื่อนวัตกรรมที่ทันสมัยโดยอาศัยเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาช่วยในการผลิตสื่อและคิดค้นนวัตกรรมที่จะใช้ในการจัดการการเรียนรู้ เหมาะแก่การเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา สื่อนวัตกรรมเป็นสื่อที่หลากหลาย เป็นสื่อที่ผลิตขึ้นมาใหม่ หรือนำสื่อของเดิมที่มีคนอื่นใช้อยู่แล้วแต่ใช้ได้ผลดีกับนักเรียนมาใช้กับนักเรียนกลุ่มที่ยังไม่เคยได้ทดลองใช้นวัตกรรมตัวนั้น การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการจัดการศึกษากับนักเรียนนั้นเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถใช้เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต และสามารถเรียนรู้ต่อไปได้โดยไม่มีที่สิ้นสุด

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

5. นักศึกษายกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันพร้อมอธิบายข้อดีและข้อจำกัด ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้น ๆ มา 1 ประเภท

   ตอบ
            E-learning  คือ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพสูง สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างกว้างขวางสามารถควบคุมลำดับชั้นของการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถสร้างระบบการสื่อสารภายในห้องเรียนที่ไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลาและสถานที่และระบบการประเมินผลก็เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา ระบบการเรียน E-learning  ผู้เรียนจะต้องใช้ความรับผิดชอบสูงจึงจะประสบความสำเร็จ
ในปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งให้ความสนใจ และเริ่มต้นพัฒนาระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการค้นหาข้อมูลที่สะดวกและรวดเร็ว ความคงทนของข้อมูล รวมทั้งความสามารถในการทำข้อมูล รวมทั้งความสามารถในการทำข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา        
          ข้อดี
  • เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล
  • ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน จะเรียนเวลาไหน ที่ไหนก็ได้
  • ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
  • ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี
  • ความรู้ไม่สูญหายไปกับคน เพราะสามารถเก็บไว้ได้
  • ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น E-Mail, Web board, Chat, Newsgroup แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
         ข้อเสีย
  • ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
  • ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
  • ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งาน
  • ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------